Mind mapping งานคอมพิวเตอร์

นางสาวอโรชา   ชัยชนะ 

ม. 6/2   เลขที่ 21

slide_11

เศรษฐกิจชุมชน

หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆไม่ว่าจะเป็นการผลิตการบริโภค
การจำหน่ายจ่ายแจกที่คนในท้องถิ่นชุมชนได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำร่วมรับประโยชน์ของประชาชน และร่วมกันเป็นเจ้าของ เศรษฐกิจชุมชนมีรากฐานมาจากศักยภาพของชุมชน ภูมิปัญญาของชุมชน หรือทุนในชุมชน อาทิวัฒนธรรม ประเพณี สภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายทางทรัพยากรที่มีอยู่

เศรษฐกิจชุมชนมีลักษณะสำคัญคือ ครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต แรงงานของสมาชิกในครอบครัวเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการอยู่รอดของครอบครัวต่อความพอเพียง และต่อความสามารถในการพึ่งตนเอง ตามแนวคิดเศรษฐกิจชุมชน ชุมชนเป็นตัวของตัวเอง มีพลวัต และสามารถที่จะอยู่รอดด้วยตัวเองได้ พัฒนาเคียงคู่ไปกับพัฒนาการของระบบทุนนิยม

ฐานคิด
1. เน้นการพัฒนาอย่างบูรณาการ มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และยึดพื้นที่เป็นหลัก เพื่อให้การพัฒนาตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน และสอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น
2. สร้างภาคีและเครือข่ายความร่วมมือ ในลักษณะ “พหุภาคี” เพื่อประสาน “พลังสร้างสรรค์” ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน โดยมีองค์กรชุมชนเป็นแกนกลาง ส่วนภาคีอื่นๆ ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้น อำนวยความสะดวก ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนา
3. เริ่มการพัฒนาจากชุมชนท้องถิ่นไปสู่ระดับชาติ และให้องค์กรชุมชนเป็นจักรกลสำคัญในการดำเนินการพัฒนา เพื่อให้เกิดพลังการพัฒนาจากความต้องการของคนในชุมชน ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนามีความต่อเนื่อง
4. ส่งเสริมการรวมกลุ่มชาวบ้านและการสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งด้านการศึกษา สาธารณะสุข การผลิต การตลาด การระดมทุน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ
5. ใช้กิจกรรมเศรษฐกิจสร้างการเรียนรู้และสร้างอาชีพที่หลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่คนในชุมชน ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านเพศ วัย การศึกษา ความถนัด ฐานะเศรษฐกิจ ฯลฯ
6. ยึดปรัชญาการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวพระราชดำรัส “การพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง” ตามขั้นตอนของ “ทฤษฎีใหม่”

Bio3004

ระบบต่อมไร้ท่อ

สิ่งมีชีวิตจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ จำเป็นต้องมีการทำงานที่สอดคล้องกันอย่างเหมาะสม ของระบบต่างๆ การ ควบคุมดังกล่าวจัดแบ่งได้ 2 ระบบ คือ ระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) การทำงานประสานงานอย่างใกล้ชิดของระบบทั้งสอง เรียกว่า ระบบประสานงาน (coordination)

            การทำงานของระบบกล้ามเนื้อ การรับรู้ การตอบสนองสิ่งเร้าต่างๆ เป็นหน้าที่ของระบบประสาท ส่วนการควบคุมลักษณะที่เปลี่ยนแปลงของร่างกายแบบค่อยเป็นค่อยไปของวัยหนุ่มสาว การควบคุมปริมาณสารบางอย่างในร่างกาย เป็นหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ ที่สร้างสารเคมี ที่เรียกว่า ฮอร์โมน ไปควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย (target organ)

ต่อมในร่างกายคน 
ต่อม (gland) หมายถึง กลุ่มเซลล์หรือกลุ่มของเนื้อเยื่อที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อผลิตสารเคมีให้กับ ร่างกาย สารที่ผลิตออกมาอาจขับออกมาเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต เรียกการขับสารดังกล่าวว่า secretion และสารบางอย่างถูกขับออกมาเพื่อเป็นของเสียที่ต้องกำจัดทิ้ง เรียกการขับสารดังกล่าวนี้ว่า excretion

ประเภทต่อมในร่างกายคน
          1) ต่อมมีท่อ ( exocrine gland ) เป็นต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วมีท่อลำเลียงออกมาภายนอกได้ เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำลาย
          2) ต่อมไร้ท่อ ( endocrine gland ) เป็นต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วไม่มีท่อลำเลียงออกมาภายนอก ต้องอาศัยการลำเลียงไปกับน้ำเลือด ในสัตว์ที่ไม่มีเลือดก็จะแพร่ผ่านไปตามเนื้อเยื่อ สารที่สร้างขึ้น เรียกว่า ฮอร์โมน ซึ่งมีผลต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเฉพาะอย่าง เรียกอวัยวะที่ฮอร์โมนไปมีผลเรียกว่า “อวัยวะเป้าหมาย”

left_brain_right_brain

การทำงานของสมองซีกขวา และซีกซ้าย

สมองซีกขวา จะควบคุมการทำงานของสมองซีกซ้ายของร่างกาย โดยสมองซีกขวาจะทำงานในในหน้าที่ตามแนวทางที่สร้างสรรค์ จินตนาการทางด้านศิลปะ เช่น ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์ รวมไปถึงการรับรู้สัญชาตญาณและอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งสมองซีกขวาจะสั่งให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานพร้อมกันได้ในทันที ความถนัดของคนที่ใช้สมองซีกขวามักสนใจในการทำงาน หรือการรับรู้เป็นพิเศษที่เกี่ยวกับ
1. ศิลปะแขนงต่าง ๆ
2. งานที่เกี่ยวกับอารมณ์ขัน
3. การใช้ภาษาง่าย ๆ ที่ไม่สลับซับซ้อน
4. การศึกษาความคิดในเชิงปรัชญา
5. การจัดสวนหรือปรับแต่งต้นไม้ให้กลมกลืนกับธรรมชาติ
6. ความสารถในงานฝีมือ และงานประดิษฐ์
7. งานที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ จิตรกร การออกแบบ งานประเภทครีเอทีฟโฆษณา
8. รักการอ่าน การเขียนหนังสือ มีความสามารถแต่งแต้มจินตนาการลงในงานเขียนได้เป็นอย่างดี
9. ประเภทศิลปิน ดารา นักแสดง ซึ่งที่มักต้องใช้อารมณ์ความรู้สึกทั้งทางร่างกายและคำพูด
ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในบุคคลที่ถนัดใช้สมองซีกขวา คือ ส่วนมากมักถนัดการเขียนหนังสือด้วยมือซ้าย หรือสามารถทำงานด้วยมือซ้ายได้ดี แต่มีสิ่งที่ควรระวังสำหรับการใช้สมองซีกขวาเพียงด้านเดียวมากเกินไป อาจเป็นคนขาดระเบียบ การใช้ชีวิตไม่ค่อยมีแบบแผน ขั้นตอน สื่อสารกับคนอื่นไม่ค่อยเข้าใจ
สมองซีกซ้าย จะควบคุมการทำงานของสมองซีกขวาของร่างกาย โดยสมองซีกซ้ายจะควบคุมการแสดงออก และทำหน้าที่ในการคิดอย่างมีสามัญสำนึก เป็นเหตุเป็นผล รวมถึงการวิเคราะห์แยกแยะรายละเอียด การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล ตีความสัญลักษณ์ในภาษา อักษรและตัวเลขได้ดี ซึ่งใน
สมองซีกซ้ายนั้นสามารถสั่งให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้ทีละอย่าง ความถนัดของคนที่ใช้สมองซีกซ้ายมักสนใจในการทำงาน หรือการรับรู้เป็นพิเศษที่เกี่ยวกับ
1. การพูดโน้มน้าวจิตใจคน
2. การตีความหมายของภาษา
3. การวิเคราะห์เวลาและความเสี่ยง
4. อาชีพที่ต้องใช้การคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ตัวเลข
5. การจัดหมวดหมู่ การแยกประเภทสินค้าต่าง ๆ
6. ผู้บริหารที่ต้องจัดการวงแผนอย่างมีเหตุผล ระบบขั้นตอน
7. งานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
8. นักกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อแขนและขา
9. อาชีพที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง เช่น ศัลยกรรมแพทย์ วิศวกร
ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในบุคคลที่ถนัดใช้สมองซีกซ้าย คือ ส่วนมากมักถนัดการเขียนหนังสือด้วยมือขวา หรือสามารถทำงานด้วยมือขวาได้ดี แต่มีสิ่งที่ควรระวังสำหรับการใช้สมองซีกซ้ายเพียงด้านเดียวมากเกินไป อาจเป็นคนที่มีความเครียดสูงอยู่ในตัว เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยปกติคนเราต้องใช้สมองทั้งซีกขวาและซีกซ้าย ส่วนจะใช้ซีกใดมากหรือน้อยกว่ากันจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ถูกกำหนดโดยบทเรียน สาขา โปรแกรมการเรียน ภาระหน้าที่การงาน อาชีพ วิถีชีวิต และการนันทนาการ เพราะการทำงานของสมองนั้นโดยปกติจะต้องปรับใช้ร่วมกันทั้งสองซีกโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่อาจใช้ซีกใดซีกหนึ่งเพียงซีกเดียว โดยละทิ้งไม่ใช้สมองอีกซีกหนึ่ง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถทำงานจากการสั่งการของสมองเพียงซีกเดียวได้

Leave a comment